วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การฝึกออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ A-Z

การฝึกออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ A-Z

 
 
การฝึกออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษ  ตั้งแต่  A-Z

            ตัว  A  นั้นออกเสียงคล้าย  เอ  ภาษาไทย  แต่จะมีลมออกมาจากลำคอมากกว่าของไทย (ท่าถอนหายใจ)  คือสระในภาษาอังกฤษทุกตัวจะมีลมมาจุกติดอยู่ที่ลำคอก่อนเปล่งเสียง ผิดกับภาษาไทยที่ปล่อยให้เสียงออกมาแบบไม่ต้องมีลมดัน  ลองพูด  alien , agent  ,aids , ape , บางครั้ง A ก็  เสียง อะเช่น   ago , again , alarm
            ตัว B  ออกเสียงคล้าย   ใบไม้  แต่จะบีบปากแน่นกว่า  ภาษาไทยจะใช้ริมฝีปากบนล่างด้านในสัมผัสกันเบา ๆ ก่อนเปล่งเสียง  แต่ของฝรั่งจะบีบแรง ๆ  พอจะเปล่งเสียงต้องใช้ลมดันให้ระเบิดออกมา  ลองพูด  bomb , baby , but , bubble , bit
            ตัว C ออกเสียงได้  2  เสียง ก็ได้    ก็ได้  แต่ไม่เหมือนไทย  เราต้องใช้ท่าฉีกยิ้มจนลมผ่านด้านข้างแก้มกับฟัน แล้วจึงออกเสียง เช่น cell , cycle , civic หรือ   เช่น   cat , car , comb
            ตัว D ใช้ท่าหมากฝรั่งติดเพดานปากแล้วพูด    แต่ให้ลิ้นดันเพดานแรง ๆ พร้อมห่อปากเล็กน้อย  โปรดสังเกตว่า   ในภาษาไทยใช้แค่ปลายลิ้นแตะเพดานบนเบา ๆ  เท่านั้น  ไม่เหมือนกันใครทำไม่ได้  ให้สังเกตว่ากำลังใช้ปลายลิ้นหรือด้านบนของลิ้นฃ่วงสุดปลายดันเพดาน  ถ้าทำอย่างแรกเสียงจะไม่ค่อยเล็ดลอดออกมา  ถ้าทำอย่างหลังเป็นวิธีที่ถูก  เสียง จะออกมาชัดเจน  เช่น  dog , dear , dad , dime , dump
            ตัว  E ใช้วิธีฉีกยิ้มและพ่นลมออกมาจากลำคอพร้อมเปล่งเสียง อี  เช่น  eel , evening (อีฟ-นิ่ง  ไม่ใช่ อีฟ-เวน-นิ่ง) หรือ  เอะ  เช่น  Evans (เอฟ-วึ่นส์ ไม่ใช่  อี-วานส์)  elephant  (เอล-ฟึ่น  ไม่ใช่  อี-เล-เฟ่น)
            ตัว  F ใช้ฟันบนจิกลงบนริมฝีผากล้างด้านใน  แล้วพ่นลมผ่านไรฟันออกมาก่อนเสียงสระ  เช่น  fat  เฟอะ-แอ็ท  fun  เฟอะ-อัน  ผิดกับภาษาไทยที่เปล่งออกมาพร้อมกันทั้งพยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด  ลองออกเสียง free , film , fame , foot , fume
            ตัว  G  คือ   แต่ยื่นปากมากกว่าภาษาไทยหน่อยหนึ่ง  เช่น  George , gentle , gym  บางครั้งก็ออกเสียงเป็น   ก็ให้ยื่นปากก่อนพูด   เป็นใช้ได้ เช่น  girl , gold , grab
            ตัว   H  (โปรดทราบ  หนึ่งชื่อ  เอช นะเจ้าคะ ไม่ใช่  เฮ็ด  คุณครูไทยชอบสอบให้อ่านว่า  เฮ็ด  ไม่รู้ให้ไปเฮ็ดหยัง)  เวลาเรียกตัว  H ให้พูดว่า  เอช  แล้วจบเสียงด้วยท่ายื่นเผยอปากค้างไว้  ระวังริมฝีปากต้องเผยอเกร็งไว้  มิฉะนั้นเสียงจะเพี้ยนเวลาออกเสียงในคำจะคล้าย   แต่ต้องมีการพ่นลมออกมาจากลำคอเหมือนถอนหายใจ  ลองดู  hot , hat , hip , hello , him 
            ตัว  I  อ่านว่า  ไอ  ธรรมดา  แต่อ้าปากกว้าง ๆ หน่อย  ปล่อยลมออกมาจากคอหน่อย  แค่นี้ก็ชัดแล้วว่า I   ตัว I นี้ออกเสียง ไอหรือ  อิเช่น islands  (อ่านว่า ไอ-ลึ่น  ไม่ใช่  ไอ๊ส์-แลนด์)  idea , ivory , inside , impossible , itch
            ตัว  J ก็คือ    แต่พูดแบบค่อย ๆ ยื่นปากจีบปากเค้นเสียงออกมาเหมือนเวลาเราเปรี้ยวปาก  คือกระแดะกว่าปกติหน่อยแล้วจะดี  ลองออกเสียงคำเหล่านี้ดูสิคะ  แล้วนึกถึงอะไรเปรี้ยว ๆ ด้วย  joy , james , june , jeans , jelly
            ตัว  K  คือตัว   (ขอประทานโทษ)  ขากเสลด  วิธีเปล่งเสียงให้ค่อย ๆ พ่นลมผ่านลำคอให้ขึ้นไปกระทบเพดานปากเยื้องมาทางด้านหลังของเพดาน  แล้วเปล่งเสียง โปรดสังเกตว่าต้องพ่นลมออกมาก่อนเสียง นะคะ ลองพูด  kite , kate , kid , key , kind
            ตัว  L นี้เป็นตัว เสียงลม  ตัวปัญหา  เพราะคนไทยเข้าใจว่านี่คือเสียง   แต่จริง ๆ แล้วมันไม่เหมือนกันซะทีเดียว  ลองพูด   ของไทยดูนะคะ ลิ้นจะอยู่ที่เพดานข้างหลังฟัน  แต่จะไม่โดนฟัน  วิธีเปล่งเสียง  ต้องฉีกยิ้มไว้เสมอ  มิฉะนั้นเสียงจะไม่ออก  คือยิ้มสู้ก่อนพูดว่างั้นเถอะ  แล้วเอาปลายลิ้นแตะด้านหลังฟันหน้าบริเวณโคนฟันและเหงือก  แล้วดีดลิ้นลงก่อนออกเสียงสระ  ถ้าเอาลิ้นแตะค้างไว้  เสียงจะไม่ออกนะคะ  เช่น  love  (เล่อะ-เอิฟ)  long  (เล่อะ-ออง)  ถ้าตัว  L เป็นตัวลงท้ายในคำตรงนี้ขอทำความเข้าใจก่อนนะคะว่า   L ไม่ใช่    เพราะฉะนั้นไม่ใช่ตัวสะกดในแม่กน  ตัว  L คือตัวปิดเสียงเท่านั้น  ลองเรียกชื่อตัว  L  ดูสิคะ  เราต้องเปล่งเสียง แอ…”  ลากยาวจนซะใจ  อยากจะจบเมื่อไหร่ให้ฉีกยิ้มกระดกลิ้นแตะโคนฟันหน้าบนแล้วดีดกลับ  (แต่ยังยิ้มค้างไว้นะจ๊ะ)  ก็จะได้  L ที่ถูกต้อง ระวัง  ถ้าออกเสียงเป็นแอน  หรือ  แอว  ไม่ถูกนะคะ
            ตัว  M นี่ก็เป็นตัวเสียงลมอีกตัวหนึ่งที่ไม่เหมือน  ของไทย  ตัวนี้เราต้องบีบริมฝีปากล่างเข้าหากัน แล้วเปล่งเสียง   ให้ระเบิดออกมาเช่น  man , more , many , meet , main , Monday   ถ้าเป็นตัวสะกดก็ให้ระเบิดลมออกมาท้ายคำด้วยทุกครั้งเช่น  ham  (แฮม-หมึ)  home (โฮม-หมึ) arm  (อาร์ม-หมึ)
            ตัว   N  เป็นเสียงลมอีกตัวหนึ่ง  เวลาออกเสียงจะใช้เทคนิคแสยะยิ้ม  หรือยื่นขากรรไกรล่างออกมาเล็กน้อย  ให้สังเกตว่าคอด้านหน้าจะตึง ๆ ลักษณะเหมือน เถียงคอเป็นเอ็น  นั่นแหละ  ลองออกเสียง  no , not , never   หรือถ้าเป็นคำลงท้ายก็ให้แสยะยิ้มตอนจบเช่น   non , coin , fun
            ตัว   O นี่ต้องอาศัยความกระแดะนิดหน่อยจะออกเสียงได้เพราะมาก  ให้ออกเสียง โออ้าปากกว้าง ๆ และเผยอเกร็งริมฝีปากบนล่างไว้ให้ดี  แล้วค่อย ๆ ทำปาก ให้แคบลง  แต่ยังเผยอค้างไว้เสมอ  ถ้านึกไม่ออก  ให้ดูพวกดารากะเทยตามละครน้ำเน่านั่นแหละ  ชัดเลย  ลองออกเสียง  over , oil (โอ-อิล), on , of
            ตัว  P  ก็ใช้วิธีบีบปากบนล่างเข้าหากัน  แต่คราวนี้ให้เม้มด้วย  เหมือนเวลาที่ผู้หญิงทาลิปสติกแล้วต้องเม้มปากเพื่อเกลี่ยสีให้เท่ากันนั่นแหละ  แล้วก็พ่นลม   ออกมาลองทำดู  แล้วให้ยกมือให้ห่างปากสักหนึ่งฟุต  ถ้าทำถูกจะต้องรู้สึกถึงลมที่พ่นออกมาปะทะฝ่ามือ เช่น  pepper , papa , peter ,paul , pan , pot
            ตัว   Q  อ่านว่า คิยู  ตัวนี้ไม่ใช่ คว  ควบกล้ำแบบภาษาไทย  แต่เป็นตัว   โดด ๆ  เช่น  queue   อ่านว่า  คิยูหรือ   และ    พูดแยกกัน เช่น  queen (คะ-วีน)  quota (คะ-โว-ท่า  ไม่ใช่  โคต้า หรือโควต้า)  quality (คะ-วอล-ลิ-ที่)
            ตัว  R  ตัวนี้เป็นปัญหาของคนไทย  เพราะความเข้าใจผิดกันมาแต่สมัยก่อนที่คุณครูสอนว่า  ตัว R  เทียบเท่ากับ   ครูเคทจะเทียบให้ฟังนะคะว่ามันไม่เหมือนกันอย่างไร    เรือของไทย  เวลาเปล่งเสียง  เราต้องกระดกลิ้นขึ้นแตะเพดานปากเกร็งไว้เล็กน้อย  เมื่อพ่นลมผ่านระหว่างลิ้นกับเพดาน  ลิ้นจะมีอาการพลิ้วเล่นลมเล็กน้อย  แต่การเปล่งเสียง  R ไม่ได้มีการใช้ลิ้นช่วยในการเปล่งเสียงแต่อย่างใด คือวางลิ้นไว้ในที่ปกติของมันนั่นแหละ  อย่าเอามันมายุ่งให้วุ่นวาย  แต่ให้ห่อปากแบบยื่นออกมาด้านหน้าเหมือนทำปากหมูนั่นแหละ  แล้วเผยอริมฝีปากบนล่างเกร็งไว้  เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ
            อย่าลืมว่าตัว  R นี่เป็นเสียงลม  ไม่ใช่เสียงจริง  เวลาออกเสียงพยัญชนะต้น  ให้ยื่นปากเผยอริมฝีปากเตรียมไว้เหมือนจะพูดว่า อู  แล้วเปล่งเสียงสระตัวสะกดตามมา  เช่น red (อู-เรด  แต่ไม่ต้องพูด อู  ออกมาจริง ๆ หรอก)  read (อู-รีด)  real  (อู-รี-อัล)  ถ้าเป็นตัวสะกดให้พูดพยัญชนะต้นและสระให้สะใจ  แล้วจึงจบคำด้วยท่าปากหมูค้างไว้  ก็จะได้เสียง  R ตามที่ต้องการ  เช่น  dear  (เดีย ..(ปากหมู)  air  (แอ  (ปากหมู))  far  (เฟอะ-อา  (ปากหมู))
            ตัว  S  คือตัวเสียงลมอีกตัว  เวลาออกเสียงให้ฉีกยิ้มแล้วพ่นลมผ่านไรฟัน  ไม่ต้องเอาลิ้นออกมานะคะ  คนบางคนพูด  ส ไม่ชัด  เพราะเอาลิ้นออกมาแตะฟันหน้าด้านในด้วยซึ่งเป็นการออกเสียงที่ผิดทั้งภาษาไทยและอังกฤษ  ลมที่ออกมาต้องยาวนานกว่าภาษาไทยสัก 2-3  วินาที   S ไม่ใช่  ส แต่จงปล่อยให้เสียงเกิดเองตามธรรมชาติจากการพ่นลมลองออกเสียง  sand  (ซซซซซ  แอ-เนอะ-ดึ)  stick   (ซซซซ  ทิค-คึ)    โปรดสังเกตุว่าให้ออกเสียงลม  ซซซซ  เท่านั้น  ไม่ต้องออกเสียง  สะเหมือนสบาย  สบู่  เคล็ดลับยิ้มเข้าไว้  เสียงจะชัด
            เวลาออกเสียง  S  เป็นตัวสะกดนี่ก็เหมือนกัน  เมื่อ S  ไม่ใช่    เพราะฉะนั้นไม่ใช่ตัวสะกดในแม่กด  ไม่ต้องพยายามช่วยสะกดให้เขา  เพียงแต่ฉีกยิ้มพ่นลมออกมาเมื่อจบคำเท่านั้นก็พอ  เช่น  goes  อ่านว่า   โก ซซซซซ …..  ไม่ใช่  โกซ.  อย่างที่คนไทยชอบพูด  ลองหัดออกเสียง  kiss , peas ,as
            ตัว  T เทคนิคเหมือน  D  คือเอาลิ้นดดันเพดานเหมือนลูกอมติดเพดาน  แล้วเอาลิ้นดันออกแรงๆ  แล้วเปล่งเสียงเถอะ  เช่น  Tom , tear , toy , top  ถ้าเป็นตัวสะกดก็ให้ออกเสียงเถอะชัดๆหลังคำ  ลองฝึก  tent , hit , cut , not
            ตัว   U  ออกเสียงอุ  อะ  โดยออกเสียงในลำคอ  เช่น ultra (อุลทร้า  หรืออัลทร้า  ก็ได้)    หรือบางครั้งก็ออกเสียงยู  เช่น under , umbrella, หรือบางครั้งก็ออกเสียงยู  เช่น universal, unilateral, unit
            ตัว  V ออกเสียง  แต่ให้เอาฟันบนจิกลงที่ริมฝีปากล่างด้านในส่วนที่ไม่ทาลิปสติก  แล้วพ่นลมผ่านไรฟันและริมฝีปาก  คือออกเสียงและพยายามพ่นลมผ่านไรฟันพร้อมๆกันระวังอย่าให้ออกเป็นเสียงฟะ  ลองออกเสียง  van, vary, vegetable   (เว็จ-ทะ-บึล  ไม่ใช่เว็ด-เจ็ด-เท-เบิ้ล)แต่ถ้าเป็นตัวยสะกดให้สะกดให้ออกเสียง  เช่น leave (ลีฟ) , give, glove
            ตัว   W  อ่านว่า  ดับบึลยู  ไม่ใช่  ดับบลิว  นะเจ้าคะ  ตัวนี้ออกเสียงเหมือน ว แหวน  ของไทยเลย  ไม่ต้องกระแดะบางคนเวลาพูด   W  กระแดะไปนิด  เลยเพี้ยนไปเลย  เช่น  จะเรียกพี่วิลลี่  แมคอินทอช  เลยกลายเป็น  villy ฟังแล้วคันหูคะ  เทคนิคเล็กน้อยที่จะทำให้ชัดขึ้นคือ  ยื่นปากงุ้มลงเล็กๆก็ใช้ได้แล้ว  เช่น   Willy, will, wonder ถ้าเป็นตัวสะกดก็ยื่นปากเข้าไว้  เช่น  low, few, wow
            ตัว X  อ่านว่า  เอ็กซ์  ถ้าเป็นพยัญชนะต้น  ออกเสียงคล้าย S  แต่เพิ่มแรงสั่นสะเทือนในเสียงให้มากขึ้น  เช่น  Xerox, xylophone ถ้าออกเป็นตัวสะกดให้ออกเสียงตัวสะกดในแม่กก  แล้วจึงตามด้วย  ซซซ….เช่น  box , fox, fax
            ตัว   Y ใช้เทคนิคแสยะยิ้ม  พยายามยื่นขากรรไกรล่างออกมาสบหน้าฟันบน  เช่น   yes, yellow, yeild  ถ้าเป็นตัวลงท้ายออกเสียงเป็นตัวสระอิหรือสระอี  เช่น jelly, really, pretty
            ตัวสุดท้าย(ซะที)  คือตัว  Z ตัวนี้ตั้งท่าเหมือนตัว S แต่ให้กัดฟันแรงกว่าเล็กน้อย  แล้วพ่นลมผ่านไรฟันให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมากๆ  จนรู้สึกคัน ๆ ที่ฟันนั่นแหละใช้ได้เลย  ลองดู  zebra, zoo, buzz
 
 
 
 
 
 
 เรามาฝึกอ่านออกเสียงกันน่ะค่ะ ........
 
 
 
 
 
 
   
 
 
 
 
 
อ้าว........ สนุกเชียว   ร้องอีกเพลงเลย 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฝาก : น้องๆช่วยกันอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ กันทุกวันน่ะค่ะ 
 
หนังสือนี้มีมากมายหลายชนิด
นำดวงจิตเริงรื่นชื่นสดใส
ให้ความรู้สำเริงบันเทิงใจ
ฉันจึงใฝ่ใจสมานอ่านทุกวัน
 

24 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาครบถ้วนคะ ..

    ขอบคุณสำหรับ ความรู้ที่นำมาแชร์ นะคะ ^^

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ค่ะ มีความรู้มาก มาอ่านกันแยะๆๆน่ะค่ะ

      ลบ
  2. มีตัวอย่างประโยคมั้ยค่ะ ?

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. มีค่ะ ดูตัวอย่างกัยเลยนาะค่ะ
      Q1 : What's your name ? (คุณชื่ออะไร)
      A1 : Peter. (ปีเตอร์)

      Q2 : Where are you from ? / Where do you come from ? (คุณมาจากที่ไหน)
      A2 : I'm from ... / I come from ... (ฉันมาจาก...)

      Q3 : What's your surname ? / What's your family name ? (คุณนามสกุลอะไร)
      A3 : Smith. (สมิธ)

      Q4 : What's your first name ? (คุณชื่ออะไร)
      A4 : Tom. (ทอม)

      Q5 : What's your address ? (ที่อยู่ของคุณคือที่ไหน)
      A5 : 7865 NW Sweet Street (7865 นอร์ธเวสต์ ถนนสวีท)

      Q6 : Where do you live ? (คุณอาศัยอยู่ที่ไหน)
      A6 : I live in San Diego. (ฉันอาศัยอยู่ที่ซาน ดิเอโก)

      Q7 : What's your telephone number ? (โทรศัพท์ของคุณหมายเลขอะไร)
      A7 : 209-786-9845

      Q8 : How old are you ? (คุณอายุเท่าไร)
      A8 : Twenty-five. / I'm twenty-five years old. (25 / ฉันอายุ 25 ปี)

      Q9 : When were you born ? / Where were you born ? (คุณเกิดเมื่อไหร่ / คุณเกิดที่ไหน)
      A9 : I was born in 1961 / I was born in Seattle. (ฉันเกิดในปี ค.ศ.1961 / ฉันเกิดที่ซีแอตเติ้ล)

      Q10 : Are you married ? / What's your marital status ? (คุณแต่งงานหรือยัง / สถานภาพการสมรสของคุณเป็นอย่างไร)
      A10 : I'm single. (ฉันยังโสด)
      หวังว่าจะมีประโยคต่อคุณน่ะค่ะ

      ลบ
  3. เนื้อหาน่าสนใจและมีประโยรชน์มากเลย

    ตอบลบ
  4. น่าสนใจมากค่ะ เดี๋ยวต้องฝึกออกเสียงให้ถูก ขอบคุณมาๆนะคะ

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาดีมากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  6. บล็อคน่าสนใจมากๆเลยคะ มีสื่อที่หลากหลาย

    ตอบลบ
  7. เนื้อหาน่าสนใจ และสำคัญมากค่ะ

    ตอบลบ
  8. ขอบคุณสำหรับความรู้ค่า

    ตอบลบ
  9. ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆที่มีให้ศึกษานะค่ะ

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ27 สิงหาคม 2555 เวลา 08:11

    เนื้อหาดีมากเลยคะ

    ตอบลบ
  11. เนื้อหาดีมากๆเลยค่ะ ขอบคุณสำหรับความรู้ดีดีนะคะ

    ตอบลบ
  12. ได้ความรู้มากเลยคับ ขอบคุนนะคับสำหรับความรู้ดีดี ไงจะนำไปปรับใช้นะคับ

    ตอบลบ
  13. เนื้อหาน่าสนจัยมากค่ะ

    ตอบลบ
  14. เนื้อหาเข้าใจง่ายดีคะ

    ตอบลบ
  15. เนื้อหาดีมากเลยค่ะ ได้ประโยชน์ไปทำราบงานค่ะ

    ตอบลบ
  16. เข้าใจเรื่องการอ่านออกเสียงขึ้นมากเลยค่ะ จะลองฝึกอ่านบ่อยๆ ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ
  17. เนื้อหาดีมีประโยชน์มากๆๆเลยคะ

    ตอบลบ
  18. ขอบคุณค้าาา เอาเนื้อหาดีๆแบบนี้มาฝากอีกน่ะค๊าาา

    ตอบลบ
  19. เนื้อหาครบถ้วน มีประโยชน์ในการเรียนมากๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
  20. wด้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลยค่ะ ภาษาอังกฤษนี่สำคัญจริงๆ

    ตอบลบ